THE MALL LIFESTORE JUNGLE WALK 2024 EP.2 THE MALL LIFESTORE JUNGLE WALK 2024 EP.2

THE MALL LIFESTORE JUNGLE WALK 2024 EP.2

ศ. 19 ก.ค. 67 - จ. 29 ก.ค. 67

สถานที่จัด : MCC HALL ชั้น 3 เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ

 

เดอะมอลล์ กรุ๊ป ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , กรมปศุสัตว์, กรมป่าไม้, กรมอุทยานแห่งชาติสัตวป่า และพันธุ์พืช, องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, บริษัท ไทยน้ำทิพย์  คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ สมาคมการค้า เกษตรกรทางเลือก ผู้เพาะพันธุ์ และพัฒนาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ จัดงาน THE MALL LIFESTORE JUNGLE WALK ท่องโลกมหัศจรรย์ ชีวิตสัตว์แปลกแดนโบราณ EP.2  เพื่อให้ความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกการเข้าใจธรรมชาติ และต่อยอดการรักษาธรรมชาติให้อยู่คู่กับโลกเราตราบนานเท่านาน ซึ่งตอบรับกับนโยบายภาครัฐในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและความมั่นคงอย่างยั่งยืน  นับเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวชีวิตสัตว์แปลก (Exotics)  ที่มีตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงสนับสนุนให้มีการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ สำหรับผู้ที่สนใจเพาะเลี้ยงสัตว์ชนิดพิเศษ (Exotic Pets) ด้วยการให้ความรู้ และวิธีการดูแลสัตว์อย่างถูกต้อง โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของสัตว์ และความเหมาะสมของสถานที่เพาะเลี้ยงอันดับแรก ภายในงานจะได้พบกับสัตว์แปลกสัตว์หาชมยากมากมาย

สัตว์ HIGHLIGHT

ANKOLE WATUSI COW (วัวแองโกล-วาตูซี)

แองโกล-วาตูซี หรือวัววาตูซี Watusi cow, Watusi cattle เป็นสายพันธุ์วัวสายพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา วัววาตูซีมีหลายสี ทั้งสีดำขาว น้ำตาลแกมแดง หรือสีน้ำตาล ลักษณะเด่นของวัววาตูซี คือเขาขนาดใหญ่ มีความสวยงาม แหลมยาว จนได้ชื่อว่าเป็น “วัวที่มีเขาใหญ่ยาวสุดในโลก” ลักษณะโค้งยาวปลายแหลม เส้นรอบวงที่ใหญ่ที่สุดคือ 92.25 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 45 กิโลกรัมในแต่ละข้าง โดยภายในเขามีลักษณะกลวงเป็นโพรง แต่มีโครงสร้างแบบรังผึ้ง ซึ่งนอกจากมีไว้ต่อสู้กันแล้ว ยังมีประโยชน์สำหรับช่วยในการระบายความร้อนอีกด้วย

GALAPAGOS GIANT TORTOISE (เต่ายักษ์กาลาปาโกส)

เต่ายักษ์กาลาปาโกส เต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่ตั้งแต่สมัยโฮโลซีน จนถึงปัจจุบัน จากการจำแนกจากชั้นทางวิทยาศาสตร์โดยนักวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเด่น คือ กระดองหนา มีสีเทาเข้มจนถึงสีดำ มีคอที่ยาวมากเพื่อใช้ในการหาอาหาร หัวมีขนาดเล็ก ตัวผู้มีกระดองยาว 122 เซนติเมตร น้ำหนักได้ถึง 250 กิโลกรัม ตัวเมียจะตัวเล็กกว่า กระดองยาว 91 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 159 กิโลกรัม วางไข่ประมาณ 9-25 ฟอง ไข่จะฟักในอุณหภูมิประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส อาศัยในที่พุ่มไม้เตี้ย ในบึง และเนินทรายชายฝั่ง และมีอายุยืนได้นานมากกว่า 100 ปี หรือประมาณ 200 ปี

EURASIAN EAGLE OWL (นกเค้าอินทรียูเรเซีย) 

นกเค้าอินทรียูเรเชีย ถูกยกให้เป็นสายพันธุ์นกฮูกขนาดใหญ่ที่สุด และแข็งแรงที่สุดในบรรดานกฮูกทั้งหมด มีลักษณะคล้ายคลึงกับนกฮูกทั่วไป แต่นกเค้าอินทรียูเรเชียมีขนาดใหญ่กว่า ส่วนจุดที่มีความคล้ายคลึงกันก็คือ มีแนวขนบริเวณศีรษะที่ดูเหมือนกับหู และเป็นขนที่เอาไว้ใช้ในการสื่อสารกับจดจำมากกว่าอำพรางตัว ในขณะที่ลำตัวทั้งหมดปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาล มีริ้วสีดำแทรกช่วงหน้าอก เช่นเดียวกับปีกทั้ง 2 ข้าง ที่มีความกว้างถึง 1.5-2 เมตร เมื่อถูกกางออกเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีสีสันที่ไม่แตกต่างกันทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่สามารถแยกออกจากกันได้โดยอาศัยการสังเกตขนาดของลำตัว เพราะตัวเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย นกเค้าอินทรียูเรเซีย มักจะสร้างรังตามแนวหน้าผาหรือในถ้ำ นกฮูก หรือนกเค้า (Owls) เป็นสัตว์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน พวกมันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนกที่มีอยู่ตั้งแต่ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมากเริ่มตั้งแต่ประมาณ 66 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลฟอสซิลแสดงให้เห็นว่านกฮูกมีวิวัฒนาการและปรับตัวในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมาเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

 

ภายในงานแบ่งการจัดแสดงสัตว์เป็นโซนต่างๆ ทั้งสัตว์บก, สัตว์ปีก, สัตว์เลี้อยคลาน ดังนี้

TERRESTRIAL ANIMALS ZONE

โซนสัตว์บก สัตว์บกนั้นมีวิวัฒนาการจากปลาขึ้นบก โดยมีการค้นพบฟอสซิลสัตว์สี่ขายุคดีโวเนียนในอดีตที่ขุดพบจากแอฟริกาใต้ บ่งบอกสัตว์ดึกดำบรรพ์วิวัฒนาการจากปลาขึ้นสู่บกจากทั่วโลก ไม่จำกัดแค่พื้นที่ในแถบเส้นศูนย์สูตร โดยวิวัฒนาการของสัตว์ดึกดำบรรพ์จากปลามาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังสี่ขา หรือเทเทรอพอด (Tetrapods) นั้น เป็นเหตุการณ์สำคัญ เพราะสัตว์เทเทรอพอดน้ำ หรือสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชุดแรกที่วิวัฒนาการขึ้นมาอยู่บนบกนั้นเป็นบรรพบุรุษของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด และเมื่อ 375 ล้านปีที่แล้ว ชั้นบรรยากาศของโลกเริ่มเข้าที่เข้าทางเหมาะแก่การอยู่อาศัย ปลากลุ่มแรกก็ได้วิวัฒนาการขึ้นมาบนบก จากรุ่นสู่รุ่น ปลาเหล่านั้นก็กลายมาเป็นคน และสัตว์บกต่างๆ ที่อยู่ด้วยกันกับเราในปัจจุบัน โดยภายในงานได้รวบรวมสัตว์บก มาไว้มากมาย อาทิ ลามะ, คาปิบาร่า, เต่ายักษ์, เมียร์แคต, แร็กคูณเผือก, แมวป่า, หมาจิ้งจอกทะเลทราย, ปาก้า, อะคูติ, ลิงมาร์โมเสท ฯลฯ

 

LAMA (ลามะ)

ลามะ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในตระกูลอูฐ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวัฒนธรรมของชาวแอนดีสตั้งแต่สมัยก่อนการเข้ามาของชาวสเปน และมีหน้าตาเป็นเอกลักษณ์ แต่มันจะไม่มีโหนกนูนอยู่ที่หลัง ลามะมีคอยาว และขายาว ส่วนหัวเล็กเมื่อเทียบกับขนาดร่างกาย ริมฝีปากบนแยกเป็นสองส่วน ใบหูขนาดใหญ่ หางสั้น มีขนสีเดียวทั้งตัวเช่น น้ำตาล ดำ ขาว หรือเทา ในบางตัวจะมีสีเหล่านี้ผสมกัน หรือมีลายเป็นวงกลมหรือเป็นจุด และลามะยังมีสมรรถนะร่างกายที่เหมาะในการเป็นสัตว์เพื่อขนสัมภาระอีกด้วย

 

CAPYBARA (หนูยักษ์คาปิบาร่า)

คาปิบาร่า เป็นสัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่อาณานิคมไอบีเรีย (สเปนและโปรตุเกส) ค้นพบขณะสำรวจพื้นที่อเมริกาใต้ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นสมาชิกของสกุล Hydrochoerus เป็นสัตว์กินพืชเลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีฟันแทะขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายหนูตะเภา หูสั้น ไม่มีหาง ขนสีน้ำตาลอ่อนแข็งกระด้าง และเมื่อโตเต็มวัย (อายุประมาณ 18 เดือน) จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 33-60 กิโลกรัม เป็นสัตว์สังคมที่อยู่รวมกันเป็นฝูง ซึ่งมากสุดจะอยู่ที่กลุ่มละประมาณ 40 ตัว ทั้งยังชื่นชอบน้ำเป็นพิเศษ มักอาศัยอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลอง

 

 

ALDABRA GIANT TORTOISE (เต่ายักษ์อัลดาบร้า)

เป็นหนึ่งในสายพันธุ์เต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ยาวได้ถึง 105 เซนติเมตร บรรพบุรุษถูกค้นพบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 ในยุคจูราสสิคตอนปลาย ซากฟอสซิลมีขนาดความยาว และกว้างกว่า 90 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยแล้วพวกมันมีน้ำหนักได้มากถึง 120 กิโลกรัม แต่ตัวผู้ขนาดใหญ่หนักได้ถึง 200-250 กิโลกรัม
เต่าสายพันธุ์นี้กินหญ้า และลำต้นของพืชเป็นอาหารหลัก และมีอายุยืนยาวมากกว่า 100 ปี

 

SULCATA TORTOISE (เต่าซูลคาต้า)

เป็นเต่าบกขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองลงมาจากเต่ายักษ์กาลาปากอส และเต่ายักษ์อัลดาบร้า โดยสายพันธุ์ของเต่าบกนั้นมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ช่วงยุคจูราสสิค หรือประมาณ 160 ล้านปี เต่าซูลคาต้ามีกระดองสีน้ำตาลอ่อน ถึงน้ำตาลเข้ม ที่ขาคู่หน้ามีเกล็ดขนาดใหญ่และเล็บเท้าที่แข็งแรง เพื่อใช้ในการขุดหลุมหาแหล่งน้ำ และหลบเร้นจากรังสีความร้อนในตอนกลางวัน Sulcata Tortoise เป็นเต่านักเดินทางแห่งท้องทุ่งสะวันน่า โดยมีขนาดตัวโตเต็มวัยที่ยาวได้มากกว่า 36 นิ้ว น้ำหนักกว่า 105 กิโลกรัม และมีอายุยืนยาวมากกว่า 100 ปี

 

ALBINOID BUFFALO (ควายเผือก)

เป็นสัตว์วงศ์วัว และควาย ที่มีแหล่งที่อยู่อาศัยดั้งเดิมในทวีปเอเชีย มีลักษณะเป็นสีเผือก ซึ่งสีเผือกเกิดจากความผิดปกติทางด้านยีนจนส่งผลให้สีของหนัง ขน และปลายจมูกมีสีขาวอมชมพู แต่นิสัยการดำรงชีวิต เช่น การกิน การอยู่ 

การนอนปลักเหมือนกันทุกอย่างกับควายดำทั่วไป ซึ่งควายเผือกเป็นควายสีหายากกว่าควายดำทั่วไป และนับเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่มีความผูกพันกับมนุษย์มาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ จากหลักฐานภาพเขียนก่อนยุคประวัติศาสตร์ของมนุษย์โบราณที่ปรากฏภาพควาย ภาพปลา สัตว์ป่าบางชนิด เขียนอยู่ตามถ้ำต่างๆ โดยทั่วไปแสดงให้เห็นว่าควายเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์มาแต่สมัยโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์

 

MEERKAT (เมียร์แคต)

เมียร์แคต จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีลำตัวขนาดเล็ก โดยเริ่มพบในยุคเพอร์เมียนและไทรแอสซิก (290-206 ล้านปีก่อน) น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) จัดอยู่ในวงศ์พังพอน (Herpestidae) เมียร์แคตมีอุ้งเล็บที่มีลักษณะโค้งเพื่อใช้ในการขุด และจมูกไวมาก มีขนสั้นสีน้ำตาล ขนเป็นแนวเส้นขนานพาดข้ามหลัง อาศัยและหาอาหารในโพรงดินที่ขุดขึ้น เมียร์แคตจะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่บางครั้งอาจมีสมาชิกถึง 30 ตัว และอยู่ร่วมกับสัตว์ขนาดเล็กชนิดอื่นๆ เช่น กระรอกดิน มีนิสัยชอบยืนชะเง้อคอ เพื่อตรวจตรา และดมกลิ่นในบริเวณรอบๆ จะออกมารับแสงแดดในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น เมียร์แคต ถือได้ว่าเป็นสัตว์มีประสาทสัมผัส และการระแวดระวังภัยที่ดีมาก โดยเฉพาะเรื่องการรับฟังเสียงจะสามารถได้ยินเสียงในรัศมีถึง 50 เมตร และจะอพยพย้ายที่อยู่เมื่อมีภัย เมียร์แคตจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี และออกลูกตามโพรง ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว

 

ALBINO RACCOON (แร็กคูนเผือก)

เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ช่วงต้นถึงกลางยุคจูราสสิก หรือราวๆ 190-163 ล้านปีก่อน มีความยาวของลำตัวราว 2 ฟุต มีหางเป็นพวง สีแรคคูนปกติ คือจะมีแถบสีดำคาดเป็นปล้องๆ ขนสีน้ำตาลปนเทา ใบหน้าสีขาวมีแถบสีดำคาดตาเป็นแถบตลอดแก้ม แต่ถ้าเป็นแรคคูนเผือก สีขนทั้งตัวจะเป็นสีขาวหม่น เกิดจากความผิดปกติทางด้านยีนจนส่งผลให้สีของหนัง ขน เปลี่ยนไปเท่านั้น แรคคูนสามาถใช้เท้าหน้าได้อย่างคล่องแคล่ว เสมือนใช้มือสำหรับหยิบจับอาหาร และเป็นสัตว์ที่รักสะอาด ปีนต้นไม้เก่ง และชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ หลับในตอนกลางวันออกหากินในตอนกลางคืน ตัวเมียออกลูกครั้งละ 4-6 ตัว ในโพรงไม้ ในช่วงฤดูหนาวที่หิมะตกและอาหารขาดแคลน แร็กคูนจะใช้เวลาช่วงนี้ในการจำศีลตลอดฤดูกาล

 

CARACAL (แมวป่าคาราคัล)

หรือที่รู้จักกันในชื่อ “แมวป่าแอฟริกัน” เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่และมีความเป็นเลิศในการล่าสัตว์  มีร่างกายที่สมบูรณ์เหมาะสำหรับการวิ่ง เพรียวบาง และเร็ว มีลักษณะเด่นคือ หูดำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของแมวชนิดนี้ หูที่มีขนาดใหญ่เรียว และมีขนปลายหูยาวชี้ออกไปถึงสองนิ้วอันเป็นลักษณะเด่นที่สุดของแมวชนิดนี้ คาดว่าขนหูที่ยาวนี้ใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร หลังหูสีดำ ข้างปากมีจุดสีเข้ม เหนือตาสีดำ มีเส้นสีดำพาดจากตามาถึงจมูก ขนตามลำตัวสั้นเกรียนและแน่น สีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีแดงอิฐ ขนบริเวณใต้ท้องยาวและซีดกว่าบริเวณอื่น ตาโต สีเหลืองน้ำตาล ลำตัวยาว 60-95 เซนติเมตร หางยาวราวหนึ่งในสามของความยาวลำตัว รอบตาขาว คางขาว ตัวผู้น้ำหนัก 10-18 กิโลกรัม ตัวเมียหนักได้ถึง 16 กิโลกรัม (เฉลี่ย 10 กิโลกรัม) เป็นแมวที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา

 

SERVAL (แมวป่าเซอร์วัล)

มีขนาดใกล้เคียงกับแมวป่าคาราคัล มีลำตัวยาว 67-100 เซนติเมตร หนัก 9-18 กิโลกรัม ความสูง 40-65 เซนติเมตร ขนตามลำตัวสีเหลือง มีจุดและแต้มสีดำเรียงกันเป็นสายขนานกับแนวสันหลังตลอดทั้งตัว จุดบริเวณคอ และหลังเชื่อมกันเป็นเส้นยาว หน้าท้องสีเทาอ่อนหรือเหลืองอ่อน หัวยื่นยาวมากกว่าแมวทุกชนิด ตาสีเหลือง รูม่านตาเมื่อหดจะเป็นรูปหลอดด้าย มีแถบสีดำเหนือหัวคิ้ว และที่หัวกับหางตา ขายาวมาก เทียบสัดส่วนร่างกายแล้วเป็นสัตว์ตระกูลแมวที่ขายาวที่สุด ขาหลังยาวกว่าขาหน้า หัวเล็ก หูใหญ่ โคนหูกว้างและเบียดชิดกัน หลังหูดำมีจุดขาวอยู่กลาง หางค่อนข้างสั้นเพียงประมาณหนึ่งในสามของความยาวลำตัว มีปล้องสีดำราว 6-7 ปล้อง ปลายหางดำ

 

FENNEC FOX / DESERT FOX (หมาจิ้งจอกเฟนเน็ค หรือหมาจิ้งจอกทะเลทราย)

จัดอยู่ในตระกูลสุนัข (Canidae) ที่มีไซส์เล็กที่สุดในโลก มีขนตามตัวออกสีเหลืองน้ำตาล หนา เนื่องจากต้องใช้ในการพรางตัวเมื่ออยู่ในทะเลทราย มีขนใต้ท้องสีขาว หางยาวฟูเป็นพวง ขนน้องมีคุณสมบัติพิเศษเรื่องการปกป้องอุณหภูมิร่างกายจากอากาศเย็นในเวลากลางคืนพอเข้าสู่กลางวัน ขนที่ว่ายังสามารถสะท้อนความร้อนออกไปได้ด้วย มีดวงตาโตสีดำ จุดเด่นคือใบหูที่ใหญ่ เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย อาศัยอยู่เป็นกลุ่มครอบครัวอยู่ในทะเลทราย พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ค่อนข้างแห้งแล้ง บริเวณแหล่งน้ำน้อย แต่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานานโดยไม่มีน้ำ รังจะถูกขุดสร้างขึ้นอยู่ใต้พุ่มไม้ในทะเลทราย เนื่องจากต้องใช้รากของพืชในการเป็นโครงของโพรง แถมยังสร้างทางเข้าออกที่เชื่อมกันได้อีกหลายรู และสามารถไปมาหาสู่กับโพรงของตัวอื่นได้อีก

 

LOWLAND PACA (ปาก้า)

พบในป่าดิบชื้นใกล้ลำธาร ป่าชายเลน กระจายพันธุ์ในภาคใต้ของเม็กซิโก ภาคเหนือของอาร์เจนตินา ปาก้าเป็นสัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากคาพีบาร่า น้ำหนักตัว 6-12 กิโลกรัม  ลำตัวสีออกน้ำตาลแดง ท้องสีขาว มีลายจุดสีขาวเป็นลายประคล้ายลายแตงไทย เท้าหน้ามีกงเล็บแข็งแรง มีพังผืดระหว่างนิ้วเพื่อช่วยในการว่ายน้ำและเดินและเดินผ่านที่เป็นเลนได้ดี  ปาก้าเป็นสัตว์ที่ดำน้ำอึดและนานกว่าคาพีบาร่ามาก โดยสามารถดำอยู่ใต้น้ำได้นานกว่า 4 นาที

 

AGOUTI (อะกูติ)

เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง มีหางสั้นมาก เท้าคู่หน้ามี 5 นิ้ว เท้าคู่หลังมี 3 นิ้ว น้ำหนักเต็มที่ไม่เกิน 4 กิโลกรัม อะกูติตกลูกครั้งละ 2-4 ตัว มีระยะเวลาอุ้มท้องนาน 3 เดือนและเนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยกระจายตัวในพื้นที่กว้างมาก จึงพบไว้มีสีของขนแตกต่างๆ กันตั้งแต่สีน้ำตาลเข้ม ไปจนถึงสีน้ำอมส้มสว่างตา ในบางแหล่งข้อมูลอ้างอิงว่า สีขนของอะกูติอาจขึ้นกับตัวมันว่าเป็นพวกที่มีพฤติกรรมออกหากินกลางคืน หรือออกหากินตอนกลางวันเป็นหลัก

WALLABY (วัลลาบี)

เป็นสัตว์ป่าที่มีกระเป๋าหน้าท้อง มีถิ่นกำเนิดในทวีปออสเตรเลีย ลักษณะคล้ายจิงโจ้ แต่มีขนาดเล็กกว่า ตัวโตสมบูรณ์มีขนาดจากหัวถึงหางวัดได้กว่า 1 เมตร น้ำหนักเฉลี่ย 11-26 กิโลกรัม อายุเฉลี่ย 3 ปี หางที่ยาว และแข็งแรงเป็นอวัยวะสำคัญใช้ในการทรงตัว และกระโดด มีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงลูกเหมือนจิงโจ้ ซึ่งลูกวัลลาบี จะอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องถึงอายุ 1 ปีครึ่ง

 

BUSH BABY (บุซเบบี้)

เป็นสัตว์ตระกูลกลุ่มลิง ขนาดตัว 14 -17 ซม ส่วนน้ำหนัก ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมีย คือ เพศผู้ 160-255 กรัม ส่วนเพศเมีย 142-229 กรัม อายุขัยประมาณ 10-12 ปี ลักษณะมีดวงตากลมโต ทำให้สามารถใช้สายตาได้ดีในที่มืด มีขนหนานุ่มมาก หัวกลม แต่ช่วงขาเวลายืดตัวจะยาวมาก หน้าสั้น หางยาวมีขนฟู ใบหูทั้งสองใหญ่และตั้ง บุซเบบี้ชอบอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่ม เป็นสัตว์สังคม ออกหากินเวลากลางคืน ตอนกลางวันจะหลบนอนหลับอยู่ในต้นไม้ แล้วจะตื่นตอนกลางคืน การสื่อสารใช้เสียงร้องเป็นหลัก

 

COMMON MARMOSET (คอมมอนมาโมเซท / ลิงมาร์โมเสท)

เป็นลิงขนาดเล็ก ซึ่งพบได้ในป่าฝนเขตร้อนของอเมริกาใต้ ลิงมาร์โมเสทเป็นสัตว์สังคมที่อยู่รวมกันเป็นฝูง มีนิสัยขี้เล่นและอยากรู้อยากเห็น พวกมันออกหากินในเวลากลางวันและนอนหลับในเวลากลางคืน และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ ลิงมาร์โมเสทมีขนาดเล็ก โดยมีความยาวลำตัวเฉลี่ยประมาณ 8 นิ้ว และน้ำหนักประมาณ 340 กรัม อย่างไรก็ตามลิงมาร์โมเสทมีอายุขัยค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับวานรตัวอื่นๆ โดยมีอายุเฉลี่ยในป่าประมาณ 12 ปี และนานถึง 15 ปี

 

THE RED – HANDED TAMARIN / GOLDEN – HANDED TAMARIN (เรดแฮนด์ ทามารีน, โกลเด้น แฮนด์ ทามารีน)

เป็นลิงโลกใหม่ ที่มีลักษณะเด่นคือ ขนลำตัวสีดำ ยกเว้นที่เท้าและมือ มีสีแดงอมส้ม อาศัยอยู่เป็นกลุ่มโดยมีสมาชิก 4- 15 ตัว ช่วงตั้งครรภ์ใช้เวลา 140-170 วัน และให้กำเนิดลูก 2 ตัว (1 และ 3 ตัวไม่เกิดขึ้นบ่อย) ลูกลิงจะได้รับการดูแลเป็นหลักจากพ่อ แต่จะไปหาแม่เพียงอย่างเดียวเพื่อการให้นม ซึ่งทั้งกลุ่มจะช่วยในการดูแลลูกลิง เรดแฮนด์ ทามารีน เป็นนักปีนที่ยอดเยี่ยม และใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บนกิ่งของต้นไม้ เป็นที่รวดเร็ว คล่องตัว และกระโดดได้ไกลถึง 60 ฟุต (18 เมตร) จากต้นไม้สู่พื้นโดยไม่มีอาการบาดเจ็บ

 

SPOT-NOSED MONKEY / LESSER SPOT-NOSED MONKEY (ลิงจมูกด่าง)

เป็นลิงในสกุล Cercopithecus ที่พบได้ในแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลาง เป็นลิงที่มีขนาดเล็กกว่า Schmidt’s guenons  หรือลิงกระรอก โดยตัวผู้มีน้ำหนักประมาณ 4-7 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม ขนของมันมีสีเทาหรือน้ำตาลเข้ม ที่บริเวณหน้าผากมักจะมีจุดสีขาวเล็ก ๆ อันเป็นที่มาของชื่อ “Spot-nosed” ใบหน้าของลิงชนิดนี้มีลักษณะเด่นด้วยจุดสีขาวเล็ก ๆ บริเวณจมูก และดวงตาขนาดใหญ่ ดำรงชีวิตเป็นฝูงเล็ก ๆ ซึ่งประกอบด้วยตัวผู้ ตัวเมีย และลูกลิง ฝูงหนึ่งมักมีจำนวนประมาณ 10-15 ตัว สื่อสารกันด้วยเสียงร้องที่หลากหลาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย และการแสดงออกทางใบหน้า

 

ALPINE MARMOT (กระรอกดิน)

มาร์ม็อต เป็นกระรอกดินภูเขาขนาดใหญ่ที่อาศัยบนที่สูงมีลักษณะเด่นคือ ลำตัวกลมหนาเพราะขนและชั้นไขมันเพื่อกันหนาว ร่างกายส่วนปอดขยายกว้างเพราะมีปอดและกระบังลมขนาดใหญ่และเท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลัง 5 นิ้ว ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของพวกกระรอกนั้นเอง แถมรูปแบบการจับคู่ส่วนมากเป็นแบบจับคู่ตัวเดียว (Monogamy) แต่บางชนิดจับคู่หลายตัวต่อฤดูกาล มี 15 ชนิดอาศัยในเทือกเขาของยุโรป, เอเชียกลาง และอเมริกาเหนือ

เสียงที่แหลมสูงของมาร์ม็อตนั้นมีไว้สำหรับการร้องเตือนภัยให้มาร์ม็อตตัวอื่นๆที่ได้อยู่บริเวณใกล้ๆหนีเอาตัวรอดเพื่อเกิดเหตุร้ายได้ทัน เส้นเสียงที่เล็กและยืดหยุ่นทำให้เกิดเสียงร้องแหลมออกมาจากกล่องเสียง อีกทั้งการอยู่บนภูเขาทำให้เสียงก้องสะท้านไปทั่วบริเวณ ทำนองเสียงร้องใกล้เคียงกับการเห่าของแพร์รี่ด็อก (Prairie dog) แต่มาร์ม็อตส่งเสียงลากยาวกังวานกว่ามาก

 

POULTRY ZONE

โซนสัตว์ปีก มีหลักฐานซากดึกดำบรรพ์จำนวนมากยืนยันว่านกมีวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์เทอโรพอด วิวัฒนาการของนก คือการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมของนก ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อการดำรงอยู่ซึ่งเผาพันธุ์ นกมีความคล้ายคลึงกับสัตว์เลื้อยคลานหลายประการ เช่น โครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อ เกล็ดที่ขา การออกลูกเป็นไข่ และการเจริญเติบโตของตัวอ่อน จึงเชื่อกันว่านกในปัจจุบันถือกำเนิดมาจากสัตว์เลื้อยคลาน ภายในงานได้รวบรวมสัตว์ปีกไว้มากมาย อาทิ นกอีมู, นกเรีย, เป็ดคอลดั๊ก, ห่านเอมเดน ฯลฯ รวมถึงสัตว์ประเภทนกฮูก หรือนกเค้า (Owls) เป็นสัตว์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน พวกมันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนกที่มีอยู่ตั้งแต่ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมากเริ่มตั้งแต่ประมาณ 66 ล้านปีก่อนจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลฟอสซิลแสดงให้เห็นว่านกฮูกมีวิวัฒนาการและปรับตัวในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมาเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป, นกเหยี่ยว ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ยุคพาลีโอจีน (Paleogene Period) ประมาณ 66 ล้านปีก่อน หลังจากยุคไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไป นกเหยี่ยวและนกล่าเหยื่ออื่น ๆ ได้มีการปรับตัวและวิวัฒนาการมาตามกาลเวลา มีความหลากหลายมากขึ้น และบางชนิดวิวัฒนาการจนมีลักษณะคล้ายนกเหยี่ยวในปัจจุบัน และนกแก้วมาคอว์เป็นหนึ่งในนกแก้วมาคอว์ที่มีสีสันสวยงามมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก เชื่อกันว่านกแก้วมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ประมาณ 60 ล้านปีก่อน นกแก้วที่เก่าแก่ที่สุดถูกพบในทวีปอเมริกาใต้ นกแก้วได้แพร่กระจายไปทั่วโลกในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา และพวกมันถูกเลี้ยงไว้โดยมนุษย์มาหลายพันปี

 

GREAT HORNED OWL (นกฮูกเขาใหญ่)

นกฮูกพันธุ์เกรท ฮอร์น เป็นหนึ่งในนกฮูกขนาดใหญ่มีลักษณะโดดเด่นที่หู คือ “เขา” ที่เป็นขนปกคลุมบริเวณหู ทำให้ดูเหมือนมีหูแหลมขึ้นมา มีขนาดตัวประมาณ 46-63 เซนติเมตร โดยมีปีกกว้างประมาณ 1.2-1.5 เมตร ตัวผู้และตัวเมียมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 1-2.5 กิโลกรัม ขนมีลายสีน้ำตาลเข้มและอ่อนสลับกัน ซึ่งช่วยในการพรางตัวในสภาพแวดล้อม มีดวงตาขนาดใหญ่และสีเหลืองสว่าง

 

SIBERIAN EAGLE OWL (นกเค้าอินทรีไซบีเรีย)

เป็นนกฮูกสายพันธุ์ย่อยของ Eurasian Eagle Owl (Bubo bubo) ซึ่งเป็นหนึ่งในนกฮูกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นกเค้าอินทรีไซบีเรีย มีขนาดตัวที่ใหญ่ ความยาวประมาณ 65-75 เซนติเมตร และมีปีกกว้างประมาณ 1.5-1.8 เมตร หนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม ขนสีอ่อนกว่านกฮูกชนิดอื่น มีขนสีครีมถึงสีน้ำตาลอ่อน จุดและลายสีเข้มบนตัว ช่วยในการพรางตัวในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยหิมะ

 

WHITE FACE SCOPS OWL (นกเค้าไวท์เฟซ)

หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Northern White-faced Owl” เป็นนกฮูกขนาดเล็กที่มีลักษณะเด่นที่ใบหน้าสีขาวและแถบดำรอบดวงตา ซึ่งทำให้มันมีหน้าตาโดดเด่น สีบริเวณปีกและหลังเป็นสีเทา บริเวณหน้าเป็นสีขาว นิสัยที่โดดเด่นคือ การทำตัวลีบพร้อมหยีตาให้เล็กลงเมื่อต้องการพรางตัวให้เป็นที่สังเกตเห็นได้น้อยที่สุด และการพองตัว พร้อมถลึงตา และกางปีกกว้างเพื่อให้ดูตัวใหญ่ขึ้นเมื่อต้องการขู่ขวัญศัตรู

 

FERUGINOUS HAWK (นกเหยี่ยวหางแดง)

นกนักล่าสุดอันตราย หนึ่งในเหยี่ยวที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ ความยาวประมาณ 56-69 เซนติเมตร และมีปีกกว้างประมาณ 122-143 เซนติเมตร หนักประมาณ 970-2070 กรัม ขนมีสองสีหลัก (morphs) คือ สีอ่อนและสีเข้ม สีอ่อนจะมีส่วนท้องและขนใต้ปีกสีขาว ขนที่หลังและปีกสีแดง-น้ำตาล ส่วนสีเข้มจะมีขนสีแดง-น้ำตาลทั่วทั้งตัว นกเหยี่ยว (Hawks) และกลุ่มนกล่าเหยื่ออื่น ๆ มีประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการที่ยาวนาน

 

HARRIS’S HAWK (นกเหยี่ยวแฮริส)

จัดเป็นนกขนาดกลาง โดยตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ประมาณ 40% โดยมีความยาว 46-76 เซ็นติเมตร ความกว้างปีก 1.1 เมตร มีน้ำหนัก 0.71 กิโลกรัม มีลำตัวมีขนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนบริเวณหัวไหล่ และโคนขามีสีขนแบบลูกเกาลัด(Shestnut) ส่วนบริเวณด้านในปีก และปลายปีกมีขนสีขาว โดยมีขาและจงอยปากสีเหลือง นกเหยี่ยว (Hawks) และกลุ่มนกล่าเหยื่ออื่น ๆ มีประวัติศาสตร์การวิวัฒนาการที่ยาวนาน

 

EMU (นกอีมู)

มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับสองรองจากนกกระจอกเทศ บินไม่ได้แต่สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถูกพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1696 โดยกัปตันชาวดัตช์ วิลเลม เดอ วลามิงห์ ในขณะกำลังค้นหาผู้รอดชีวิตจากเรือลำหนึ่งที่หายสาบสูญไปเมื่อสองปีก่อนแถวชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลีย ลักษณะของนกอีมู คือ ขนหยาบ แข็ง สีน้ำตาลเทาตลอดลำตัว ลูกนกมีขนสีน้ำตาลเข้ม มีลายทางสีขาวพาด โตแล้วลายจะหายไป ปาก ขา เท้า มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ขาใหญ่และแข็งแรง เท้ามีนิ้วเท้า 3 นิ้ว ยื่นไปข้างหน้า (ไม่มีนิ้วหลัง) กระดูกหน้าอกแบนราบ คล้ายกับหน้าอกคน ไม่มีสัน พวกมันเป็นนกที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจในออสเตรเลีย เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์แห่งชาติและมีบทบาทในระบบนิเวศของประเทศ

 

GREATER RHEA (นกเรีย)

มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อเมริกาใต้แถบเชิงเขาแอนดีส ในประเทศเปรู และทางใต้ของประเทศโบลิเวีย รวมทั้งบริเวณที่ราบซึ่งปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าแพมพัสในประเทศบราซิลและอาเจนตินา บางครั้งถูกเรียกว่า South American Ostriches เนื่องจากมีรูปร่างคล้ายนกกระจอกเทศ จัดเป็นนกบินไม่ได้ที่มีขนาดใหญ่ มีการพบเห็นนกเรียตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นกเรียสูงประมาณ 4 - 5 ฟุต (1.7 เมตร) ความยาวของตัวประมาณ 4 - 4.5 ฟุต น้ำหนักประมาณ 55 ปอนด์ (ประมาณ 25 กิโลกรัม) มีนิ้วเท้า 3 นิ้ว ส่วนหัว คอ และสะโพก มีขนปกคลุมอ่อนนุ่ม ไม่มีหาง นกเรียจะอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ และมักพบอยู่ปะปนกับฝูงกวางหรือสัตว์อื่น นกเรียมีขาที่แข็งแรง มีปีกขนาดเล็กบินไม่ได้ นกเรียตัวผู้จะร้องเสียงดัง แต่ตัวเมียจะไม่มีเสียง ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่และสีเข้มกว่าตัวเมีย และมักจะคุมฝูงตัวเมีย 5 - 20 ตัว (โดยมาก 5 - 6 ตัว) นกเรียตัวผู้จะสร้างรังโดยการขุดหลุมตื้นๆ รองด้วยหญ้าหรือใบไม้ รังมีขนาดประมาณ 1 หลา ตัวเมียจะช่วยกันวางไข่ 20-50 ใบ ไข่จะมีสีเหลืองหรือสีขาว มีความยาวประมาณ 5 นิ้ว ตัวผู้จะทำการฟักไข่และเมื่อทำการฟักไข่จะไล่ตัวเมียออกไปจากรัง ใช้เวลาฟักประมาณ 6 สัปดาห์ หรือประมาณ 40-45 วัน ตัวผู้จะเลี้ยงลูกประมาณ 6 สัปดาห์หรือจนกว่าลูกนกจะสามารถดูแลตัวเองได้

CALL DUCK (เป็ดคอลดั้ก)
เป็นเป็ดขนาดเล็กที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเนเธอร์แลนด์ เดิมทีเป็ดคอลถูกเลี้ยงเพื่อใช้เป็นตัวล่อในการล่าเป็ดป่า แต่ในปัจจุบันมันได้กลายเป็นเป็ดเลี้ยงที่ได้รับความนิยมในฐานะสัตว์เลี้ยง เป็ดคอลมีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาเป็ดบ้าน ความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร หนักประมาณ 450-700 กรัม เป็ดคอลมีเสียงร้องดัง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ทำให้ได้ชื่อว่า "Call Duck"

 

MALLAND DUCK (เป็ดมาลลาร์ด / เป็ดหัวเขียว)

เป็ดมาลลาร์ดตัวผู้นั้น บริเวณหัว และคอจะเป็นสีเขียวเข้ม มีแถบสีขาวรอบคอ อกสีน้ำตาลแกมน้ำตาลแดงเข้ม ลำตัวด้านบนสีเทาแกมน้ำตาลอ่อน ตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนเป็นสีดำ ขนหางสีออกขาว ท้องมีสีจางกว่าลำตัวด้านบน ปากสีเหลืองแกมเขียว ขาสีส้ม ขาของตัวเมียเป็นลายสีน้ำตาล มีแถบคาดตาสีดำ ปีกมีแววขนปีกสีน้ำเงิน ปากสีออกน้ำตาลมักมีขอบสีเหลืองหรือสีส้ม ขนหางสีจางกว่าขนคลุมโคนขนหางด้านบน อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ โดยเฉพาะบึงและทะเลสาบ มักอยู่เป็นฝูงบางฝูงอาจประกอบด้วยนก 40 - 50 ตัว และอาจพบรวมฝูงกับนกเป็ดน้ำหลายชนิด ออกหากินเวลากลางคืน ส่วนกลางวันมักว่ายน้ำพักผ่อนบริเวณที่ค่อนข้างตื้น และอาจกินสัตว์น้ำในแหล่งที่อาศัยด้วย

 

WOOD DUCK (เป็ดวู๊ดดั๊ก)

เป็นเป็ดขนาดกลางชนิดหนึ่ง เป็นเป็ดที่อยู่ในตระกูลนกเป็ดน้ำ โดยตัวผู้จะมีสีที่สวยงามมากกว่าตัวเมีย โดยตัวจะมีสีดำมีแถบสีขาวที่ขนปีก และมีเส้นสีขาวรอบคอ ส่วนหัวมีสีเขียวเข้ม และปากมีสีเหลือง ส่วนตัวเมียมีเพียงสีขาวเทาและดำ เป็ดวู๊ดดั๊กมีนิสัยขี้อายและขี้ตกใจ

 

EMDEN GOOSE (ห่านเอมเดน)

มีมาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1800) โดยมีถิ่นกำเนิดในประเทศเยอรมนี โดยเฉพาะในเมือง Emden ทางตอนเหนือของเยอรมนี ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการเลี้ยงห่านสายพันธุ์นี้อย่างแพร่หลาย ห่าน Emden เป็นห่านพันธุ์ใหญ่ที่มีลักษณะเด่นคือขนสีขาวและมีน้ำหนักมาก มักถูกเลี้ยงเพื่อเนื้อและไข่  ห่านเอมเดนมีขนาดใหญ่ มีขนสีขาวหรือเทาอ่อน ขนที่คอและหัวจะเป็นสีขาว ขนที่ลำตัวมีสีขาวไปจนถึงสีเทา ปากสั้น เป็นสีส้ม เท้า และพังผืดเป็นสีส้ม

 

SCARLET MACAWS (สการ์เล็ต มาคอว์)

พบในป่าฝนของทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศเวเนซูเอล่า, เปรู, บราซิล, โบลิเวีย,โคลัมเบีย  นกแก้วมาคอว์ถือเป็นนกที่มีขนาดใหญ่มันมีความยาวกว่า 81 เซนติเมตร ขนมีหลากหลายสี ทั้งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีแดง สีเหลือง โดยทั่วไปแล้วสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 75 ปี และถูกตั้งให้เป็นนกประจำชาติประเทศฮอนดูรัส มักพบเห็นเป็นคู่หรือเป็นครอบครัวเล็กๆ ซึ่งอาจรวมฝูงใหญ่ได้ถึง 30 ตัว
 

BLUE AND GOLD MACAW (นกแก้วมาคอว์สีฟ้าเหลือง)

พบในแถบอเมริกาใต้ จาก เวเนซุเอล่า ไปจนถึงบราซิล โบลิเวีย โคลัมเบีย และปารากวัย แมกซิโก ปานามา ในอเมริกากลาง เป็นหนึ่งใน นกแก้วมาคอว์ สีน้ำเงินอกเหลืองเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ เป็นชนิดที่ปรากฏตัวในประวัติศาสตร์ในระยะเวลาไม่กี่พันปีที่ผ่านมา ซึ่งมีขนสีฟ้าเข้ม มีแถบสีเหลืองอมทอง บริเวณลำตัว มีหางยาว มีปากขนาดใหญ่สีดำ มีแถบสีขาวบนใบหน้าแต่ละข้าง ของส่วนหัวสลับกับแถบขนาดเล็กสีดำ มีแถบบนลำคอสีฟ้า ลักษณะลำตัว มีสีสันสดใส ส่วนหลัง และปีกมีสีฟ้า ท้องมีสีเหลือง สามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่ 30 ถึง 35 ปี

 

HARLEGGUIN MACAW (ฮาลาควีนมาคอร์)

พบในอเมริกาใต้ จาก เวเนซุเอล่า ไปจนถึงบราซิล โบลิเวีย โคลัมเบีย และปารากวัย แมกซิโก ปานามา ในอเมริกากลาง ฮาลาควีนมาคอร์เป็นนกพันธ์ผสมที่เกิดจาก กรีนวิงค์ผสมกับบลูแอนด์โกลด์มาคอว์ มีสีเขียวที่ลำตัว และแผ่นหลัง ปีกสีน้ำเงินฟ้า ใต้ท้องมีสีส้ม หรืออาจเป็นสีแดง หรือสีเหลืองได้ ซึ่งเนื่องจากเป็นลูกผสม แต่ละตัวที่เกิดจึงมีสีสันที่ไม่แน่นอน

 

CAMELOT MACAW (คาเมลอต มาคอร์)

เป็นนกพันธุ์ผสมที่เกิดจาก สการ์เล็ต มาคอว์ และแคทารีน่ามาคอว์ เป็นหนึ่งในนกแก้วมาคอว์ ที่มีสีสันสวยงามมากที่สุดสายพันธุ์หนึ่งของโลก คาเมลอต มาคอร์เป็นนกแก้วที่มีลักษณะลำตัวเป็นสีเหลืองเข้ม และขนหางมีสีแดงสด ขาสั้นใหญ่ แข็งแรง ขนที่ปีกบางทีก็เป็นสีฟ้าและสีเหลืองหรือสีเขียวเหลือง ซึ่งเนื่องจากเป็นลูกผสม แต่ละตัวที่เกิดจึงมีสีสันที่ไม่แน่นอน

 

AMAZON PARROT (นกแก้วอเมซอน)

มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางแถบทวีปอเมริกาใต้ ถึงเม็กซิโกและแคริบเบียน เป็นนกเเก้วที่มีสายพันธุ์ 33 ชนิดที่อยู่ในตระกูล Amazona มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 20  เป็นนกที่มีที่อยู่แผ่ขยายตั้งแต่ทวีปอเมริกาใต้ถึงเม็กซิโกและแคริบเบียน นกแก้วอมเซอนมีขนาดตั้งแต่กลางถึงใหญ่ และมีหางที่สั้นเล็กน้อยแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส สีหลักของนกแก้วอเมซอนคือสีเขียว แต่มีสีที่เป็นแนวเส้นเต็มกรอบตาในบางชนิดและมีสีสันสดใสในบางชนิดเป็นนกที่มีขนาดกลางโดยมีความยาวตั้งแต่หัวถึงปลายหาง ยาว 30-33 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 350-450 กรัม มีอายุมากกว่า 60 ปี

 

MOLUCCAN COCKATOO (นกกระตั้วโมลัคคัน)

พบเฉพาะในออสเตรเลีย , อินโดนีเซียที่ประเทศฟิลิปปินส์ และบางภูมิภาคของแปซิฟิก นกกระตั้วโมลัคคันถูกจัดเป็นหนึ่งในวงศ์ย่อย Cacatuinae ของวงศ์นกแก้ว Psittacidae ในปี ค.ศ. 1840 นักธรรมชาติวิทยา ชาวอังกฤษจัดให้ นกกระตั้วโมลัคคันเป็นกระตั้วขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนกกระตั้วสีขาว โดยเฉลี่ยแล้วจะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม( 2.2 lbs) และขนาดความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง 47 ถึง 52 เซนติเมตร เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ความสูงเฉลี่ยอยู่ในช่วง มีหงอนขนาดใหญ่สามารถพับเก็บและแผ่ออกได้ โดยหงอนมีไว้เพื่อแสดงอารมณ์ของมัน สีของขนภายในหงอนของกระตั้วโมลัคคัน เป็นสีคล้ายเนื้อปลาแซลมอน (จึงเป็นที่มาของอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า Salmon-crested cockatoo) หรือบางทีอาจมองคล้ายสีของนกฟลามิงโก้

 

PALM COCKATOO (นกกระตั้วดำ)

พบแพร่กระจายพันธุ์เฉพาะเกาะนิวกินีและรัฐควีนส์แลนด์ ทางตอนเหนือของออสเตรเลียเท่านั้น นกกระตั้วดำเป็นนกปากขอชนิดหนึ่งในวงศ์นกกระตั้ว มีต้นกำเนิดตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และเป็นนกกระตั้วที่แตกต่างจากนกกระตั้วชนิดอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน กล่าวคือ มีลำตัวและหงอนสีทึบทึมคล้ายสีดำ จึงถูกจัดให้เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Probosciger โดยแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดย่อย ซึ่งความแตกต่างของชนิดย่อยเหล่านี้จะแตกต่างกันที่ขนาดลำตัว Goliath จะมีขนาดใหญ่ที่สุด) ลักษณะทั่วไป คือ มีขนสีเทาดำ มีหงอนใหญ่โค้งไปด้านหลังมีลักษณะแคบและยาว สีข้างแก้มสีแดง ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ นอกจากนี้แล้วตัวผู้ขนทั่วตัวมีสีน้ำตาลปนดำ ใต้คอปลายขนมีขอบสีเขียว ส่วนบริเวณหูมีสีเหลือง ปากสีเทา ขาสีน้ำตาล ม่านตาสีน้ำตาล ส่วนตัวเมียขนบริเวณส่วนหูจะมีสีเหลืองจางกว่าเพศผู้ และจะมีลักษณะเด่นของจุดสีเหลือง ๆ บริเวณขนหาง เปลือกตาสีเทา มีขนาดลำตัวใหญ่ประมาณ 55–60 เซนติเมตร (22–24 นิ้ว) น้ำหนักตัวประมาณ 910–1,200 กรัม มีอายุการฟักไข่ประมาณ 30 วัน

 

GALAH COCKATOO (นกกระตั้วกาลาห์)

มีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายทั่วออสเตรเลีย โดยเฉพาะในทุ่งหญ้าและป่าเปิด พวกมันสามารถพบได้ในทุกภูมิภาคของประเทศ ตั้งแต่พื้นที่ชายฝั่งจนถึงพื้นที่ชนบทในภาคกลาง นกกาลาห์สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย และสามารถพบเห็นได้ในเขตเมืองที่มีพื้นที่สีเขียวเช่นกัน มีมาตั้งแต่ยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ประมาณ 66 ล้านปีก่อน แต่การที่มันมีรูปแบบและลักษณะเฉพาะในปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการและปรับตัวมาตลอดระยะเวลาหลายล้านปี โดยนกกาลาห์เป็นหนึ่งในสายพันธุ์นกกระตั้ว (Cockatoo) มีขนาดกลาง มีขนสีชมพูที่อกและท้อง และขนสีเทาที่ปีกและหลัง หัวมีขนสีชมพูหรือแดงที่พบมากในออสเตรเลีย มีขนสีชมพูและสีเทา ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงทั้งในประเทศออสเตรเลียและทั่วโลก

 

REPTILES ZONE

โซนสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลื้อยคลานนับเป็นสัตว์บกที่แท้จริงกลุ่มแรก และได้มีวิวัฒนาการอย่างมากจนทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตมากมาย สัตว์เลื้อยคลานพวกแรกๆ มีวิวัฒนาการไปหลายทาง เช่น วิวัฒนาการไปเป็นสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน หรือเป็นสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น ไดโนเสาร์ สัตว์เลื้อยคลานบางกลุ่มวิวัฒนาการไปเป็นสัตว์ปีกซึ่งเป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน และสัตว์เลื้อยคลานบางกลุ่มก็วิวัฒนาการไปเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สามารถดำรงชีพอยู่ในน้ำ และบนบกได้ตามลักษณะรูปร่างของร่างกายที่แตกต่างกัน สัตว์เลื้อยคลานมีมากมายหลายชนิด อาทิ อีกัวนา, กิ้งก่า, งู สายพันธุ์ต่างๆ ฯลฯ

 

GREEN IGUANA (อีกัวนาเขียว)

เป็นสัตว์ประจำถิ่นในป่าเขตร้อนของเม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะแคริบเบียน พบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่าเขา และพบในพื้นที่ที่มีป่าชื้น เป็นกิ้งก่าที่มีลักษณะโดดเด่น คือ "เหนียง" เป็นแผ่นหนังกลมขนาดใหญ่ห้อยอยู่ใต้คาง ตั้งแต่คอ กลางหลัง มีแผงหนามเรียงตัวต่อเนื่องยาวไปจนถึงหาง หากสังเกตดูที่ "แก้ม" จะเป็นเกล็ดแผ่นวงกลมขนาดใหม่ ซึ่งเรียกว่า subtympanic shield และมีช่องหูในแนวหลังตาแต่ละข้าง มีหางยาวช่วยในการป้องกันจากสัตว์ผู้ล่า มีเกล็ดปกคลุมทั่วร่างกาย มีหลากหลายสี ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่ เกล็ดของอีกัวนา ยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับอายุ โดยที่ช่วงวัยเด็กสีพื้นของเกล็ดเป็นสีเขียว และมีแถบขนาดใหญ่สีน้ำตาล ถ้าอากาศหนาวเย็นสีเกล็ดจะออกคล้ำ ส่วนในช่วงอากาศร้อนสีเกล็ดจะลดความเข้มลง และมีอายุขัยประมาณ 20 ปี

 

RED IGUANA (อีกัวนาแดง)

เป็นสัตว์ประจำถิ่นในป่าเขตร้อนของเม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้และหมู่เกาะแคริบเบียน อีกัวนาแดง พบมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่าเขา และพบในพื้นที่ที่มีป่าชื้น เป็นกิ้งก่าที่มีลักษณะโดดเด่น คือ "เหนียง" เป็นแผ่นหนังกลมขนาดใหญ่ห้อยอยู่ใต้คาง ตั้งแต่คอ กลางหลัง มีแผงหนามเรียงตัวต่อเนื่องยาวไปจนถึงหาง หากสังเกตดูที่ "แก้ม" จะเป็นเกล็ดแผ่นวงกลมขนาดใหม่ ซึ่งเรียกว่า subtympanic shield และมีช่องหูในแนวหลังตาแต่ละข้าง มีหางยาวช่วยในการป้องกันจากสัตว์ผู้ล่า มีเกล็ดปกคลุมทั่วร่างกาย มีหลากหลายสี ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่ เกล็ดของอีกัวนา ยังมีปัจจัยที่ขึ้นอยู่กับอายุ และมีแถบขนาดใหญ่สีน้ำตาล ถ้าอากาศหนาวเย็นสีเกล็ดจะออกคล้ำ ส่วนในช่วงอากาศร้อนสีเกล็ดจะลดความเข้มลง และมีอายุขัยประมาณ 20 ปี

 

BROWN BASILISK LIZARD (กิ้งก่าบาซิลิสก์ / กิ้งก่าพระเยซู)

กระจายพันธุ์ตามป่าร้อนชื้นของภูมิภาค อเมริกากลาง เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ที่อยู่ในสกุล Basiliscus เป็น กิ้งก่าที่มีขนาดกลางซึ่งเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาด ความยาวเต็มที่ประมาณ 80 เซนติเมตรและมีน้ำหนักประมาณ 80 กรัม กิ้งก่าบาซิลิสก์ โดยรวมแล้วจะมีเกล็ดที่ห่อหุ้มลำตัวเป็นสีเขียว ขาว น้ำตาลและดำ สีส่วนใหญ่ของพวกมันจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และสภาพแวดล้อมที่พวกมันอาศัยอยู่ และสามารถปรับสีของเกล็ดเพื่อการพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ความพิเศษของเจ้า กิ้งก่าบาซิลิสก์ คือจะมีครีบงอกออกมาบริเวณกลางหลังเหมือนกับปลา ตัวผู้จะมีหงอนอยู่บนหัวและมีความสามารถพิเศษคือสามารถวิ่งบนน้ำได้ โดยพวกมันจะใช้ขาคู่หลังสับขาวิ่งด้วยความเร็วเพียง 0.052 วินาทีเท่านั้น
เมื่อต้องการเคลื่อนที่บนน้ำ ซึ่งความลับของการวิ่งบนน้ำนั้นนอกจากความเร็วที่พวกมันใช้ในการสับขาแล้ว ยังเกิดจากฟองอากาศที่พวกมันใช้ในการพยุงตัว ซึ่งระยะทางที่มันจะสามารถวิ่งบนน้ำได้ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของพวกมันเองด้วย ซึ่งความสามารถพิเศษในการวิ่งบนน้ำได้ของพวกมันนี้เองที่ทำให้พวกมันมีฉายาว่า กิ้งก่าพระเยซู เพราะพวกมันสามารถเดินบนน้ำได้เช่นเดียวกับ พระเยซูที่สามารถเดินบนน้ำได้ ตามบันทึกในคัมภีร์ไบเบิ้ล  และกิ้งก่าบาซิลิสก์ ยังสามารถว่ายน้ำ และดำน้ำได้นานถึง 30 นาที ส่วนลักษณะภายนอกของพวกมันนั้นมีรูปร่างเหมือนกับสัตว์ในเทพนิยายของกรีก ที่มีรูปร่างเหมือนกับมังกรผสมกับไก่ ที่มีชื่อว่า บาซิลิสก์

 

SAILFIN DRAGON (เซลฟิน ดราก้อน)

พบในแถบประเทศฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ชื่อ Sailfin แปลว่า ใบเรือ มาจากลักษณะครีบขนาดใหญ่ของตัวผู้บริเวณหาง ซึ่งจะไม่พบครีบลักษณะนี้ในตัวเมีย เซลฟินดราก้อนเป็นหนึ่งในกิ้งก่าพันธุ์หายาก ชื่อพื้นถิ่นเรียกว่า "โซอาโซอา" เป็นกิ้งก่าน้ำที่มีความโดดเด่นที่มีกระโดงสวยงาม สามารถดำน้ำได้นานถึง 15 นาที เมื่อโตเต็มวัยจะขนาด 1-1.5 เมตร มีอายุเฉลี่ย 10-14 ปี โดยอาจมีอายุยืนยาวสูงสุดถึง 25 ปี เมื่อโตเต็มที่เพศผู้จะมีครีบหางขนาดใหญ่ ดูคล้ายไดโนเสาร์ในยุคดึกดำบรรพ์

 

PANTER CHAMELION (กิ้งก่าแพนเธอร์คาเมเลี่ยน)

มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ณ เกาะมาดากัสการ์ ซึ่งปัจจุบันสามารถพบได้โดยทั่วไปในทวีปยุโรปตอนใต้ เอเชีย และรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์สัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า ซึ่งสืบตระกูลกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ อ้างอิงจากถิ่นอาศัยที่แตกต่าง ทำให้ลักษณะภายนอกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ เช่น กิ้งก่าคาเมเลี่ยนที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายซาฮาร่า จะแตกต่างกับกิ้งก่าคาเมเลี่ยนที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าบนภูเขา ด้วยปัจจัยนี่เองทำให้พวกเขามีหลากหลายสายพันธุ์ ลักษณะตัว มีผิวหนังของกิ้งก่าคาเมเลี่ยนนั้นมีความพิเศษตรงที่สามารถเปลี่ยนสีตามอารมณ์ได้ ชั้นผิวหนัง และเม็ดสีผิวหนังชั้นนอกไวต่อแสง และความร้อน อีกทั้งผิวหนังชั้นในไวต่อสารเคมี ทำให้เซลล์ชั้นผิวหนังทำการหด และขยายตัว จนเกิดเป็นสีต่าง ๆ ตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น คาเมเลี่ยนนั้นมีดวงตากลมใหญ่ นูนออกมา ด้วยขนาดของเปลือกตาที่หนา และใหญ่ไม่แพ้กันทำให้เปลือกตาบดบังดวงตา จึงทำให้ดูว่าดวงตานั้นมีขนาดเล็ก แต่จริง ๆ แล้วนั้นความสามารถในการมองเห็นของกิ้งก่าคาเมเลี่ยนก็ดีไม่แพ้ใคร เพราะพวกเขาสามารถมองเห็นได้รอบทิศทางในรัศมีความกว้างถึง 360 องศา

โดยปกติแล้วเหล่ากิ้งก่าคาเมเลี่ยนจะใช้หางในการเกาะต้นไม้ โดยการม้วนหาง หากเราจับยืดออกมา เราจะพบว่าหางของพวกเขามีความยาวมากกว่าลำตัว ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยึดเกาะได้เป็นอย่างดี

ลักษณะเท้าของพวกกิ้งก่าคาเมเลี่ยนมีเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก เพราะจะมีทั้งหมด 5 นิ้ว โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ง่าม ฝั่งละ 2 นิ้ว และ 3 นิ้ว มีไว้เพื่อทรงตัวบนต้นไม้ให้มั่นคง โดยการหนีบกิ่งไม้เอาไว้ และความยาวของลิ้นกิ้งก่าคาเมเลี่ยนนั้นมีความยาวเท่ากับความยาวของลำตัว มีประโยชน์สำหรับการดักจับแมลงที่เป็นอาหาร รวมถึงยังมีสารเหนียวตรงบริเวณปลายลิ้น ลักษณะเป็นท่อกลม ๆ  ทำให้แมลงไม่สามารถรอดพ้นจากการล่าได้

ขนาดตัวของกิ้งก่าคาเมเลี่ยนสายพันธุ์นี้จะอยู่ที่ 15 – 21 นิ้ว แต่ตัวเมียจะมีขนาดอยู่ที่ 9 -13 นิ้ว โดยจะมีสีของผิวหนังที่เข้ม และมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ปี 

 

VEILED CHAMELION (กิ้งก่าเวลล์คาเมเลี่ยน)

มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ณ เกาะมาดากัสการ์ ซึ่งปัจจุบันสามารถพบได้โดยทั่วไปในทวีปยุโรปตอนใต้ เอเชีย และรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์สัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า ซึ่งสืบตระกูลกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ อ้างอิงจากถิ่นอาศัยที่แตกต่าง ทำให้ลักษณะภายนอกแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ เช่น กิ้งก่าคาเมเลี่ยนที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายซาฮาร่า จะแตกต่างกับกิ้งก่าคาเมเลี่ยนที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าบนภูเขา ด้วยปัจจัยนี่เองทำให้พวกเขามีหลากหลายสายพันธุ์ โดยสีของคาเมเลี่ยนสายพันธุ์นี้จะมีสีเขียวสดใส โดยปกติแล้วจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ปี ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียถึง 4 – 11 นิ้ว โดยจะเริ่มต้นที่ 14 – 24 นิ้วเลยทีเดียว ลักษณะตัว มีผิวหนังของกิ้งก่าคาเมเลี่ยนนั้นมีความพิเศษตรงที่สามารถเปลี่ยนสีตามอารมณ์ได้ ชั้นผิวหนัง และเม็ดสีผิวหนังชั้นนอกไวต่อแสง และความร้อน อีกทั้งผิวหนังชั้นในไวต่อสารเคมี ทำให้เซลล์ชั้นผิวหนังทำการหด และขยายตัว จนเกิดเป็นสีต่าง ๆ ตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น คาเมเลี่ยนนั้นมีดวงตากลมใหญ่ นูนออกมา ด้วยขนาดของเปลือกตาที่หนา และใหญ่ไม่แพ้กันทำให้เปลือกตาบดบังดวงตา จึงทำให้ดูว่าดวงตานั้นมีขนาดเล็ก แต่จริง ๆ แล้วนั้นความสามารถในการมองเห็นของกิ้งก่าคาเมเลี่ยนก็ดีไม่แพ้ใคร เพราะพวกเขาสามารถมองเห็นได้รอบทิศทางในรัศมีความกว้างถึง 360 องศา

โดยปกติแล้วเหล่ากิ้งก่าคาเมเลี่ยนจะใช้หางในการเกาะต้นไม้ โดยการม้วนหาง หากเราจับยืดออกมา เราจะพบว่าหางของพวกเขามีความยาวมากกว่าลำตัว ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยึดเกาะได้เป็นอย่างดี

ลักษณะเท้าของพวกกิ้งก่าคาเมเลี่ยนมีเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก เพราะจะมีทั้งหมด 5 นิ้ว โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ง่าม ฝั่งละ 2 นิ้ว และ 3 นิ้ว มีไว้เพื่อทรงตัวบนต้นไม้ให้มั่นคง โดยการหนีบกิ่งไม้เอาไว้ และความยาวของลิ้นกิ้งก่าคาเมเลี่ยนนั้นมีความยาวเท่ากับความยาวของลำตัว มีประโยชน์สำหรับการดักจับแมลงที่เป็นอาหาร รวมถึงยังมีสารเหนียวตรงบริเวณปลายลิ้น ลักษณะเป็นท่อกลม ๆ  ทำให้แมลงไม่สามารถรอดพ้นจากการล่าได้ สีของคาเมเลี่ยนสายพันธุ์นี้จะมีสีเขียวสดใส โดยปกติแล้วจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 5 ปี ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียถึง 4 – 11 นิ้ว โดยจะเริ่มต้นที่ 14 – 24 นิ้วเลยทีเดียว 

 

FRILLED DRAGON (กิ้งก่าแผงคอ)

หรือที่รู้จักกันว่า frilled dragon หรือ frill-necked lizard พบกระจายพันธุ์อยู่ในทะเลทราย ทางตอนเหนือของประเทศ ออสเตรเลีย ปาปัว นิวกีนี  ส่วนมากอาศัยอยู่บนต้นไม้ โดยการเกาะนิ่ง  เพื่ออำพรางศัตรู พร้อมปรับตัวและสีให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมได้ดี ที่สำคัญสามารถมองเห็นอาหารจากต้นไม้ไกลถึง  3  เมตร กิ้งก่าดึกดำบรรพ์ยุคไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า  ที่พบได้ในทะเลทรายทางตอนเหนือของออสเตรเลียและปาปัวนิวกินี มีขนาดตั้งแต่ 45 - 90 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่บนต้นไม้ในป่าดิบแล้งเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งอาจลงมาบนพื้นดินเพื่อหามดและแมลงกินเป็นอาหาร หรือต่อสู้กับกิ้งก่าตัวอื่น ๆ ที่เข้ามาภายในอาณาเขต กิ้งก่าแผงคอมักมีผิวหนังสีน้ำตาลหรือเทา และมีสีขาวเป็นหย่อม ๆ (ทั้งนี้ สีของกิ้งก่าอาจแตกต่างกันออกไปตามภูมิภาค) ซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถพรางตัวเมื่ออยู่บนต้นไม้ได้เป็นอย่างดี โดยกิ้งก่าแผงคอเพศผู้จะมีสีที่โดดเด่นกว่ากิ้งก่าเพศเมีย จุดเด่นของกิ้งก่าชนิดนี้คือแผงคอ ซึ่งโดยปกติจะถูกพับไว้ตรงคอและลำตัว เมื่อรู้สึกถูกคุกคาม กิ้งก่าจะชูตัวขึ้นและแผ่แผงคอออกมา พร้อมกับอ้าปากขู่ศัตรู หากศัตรูไม่กลัวหรือไม่มีทีท่าว่าจะหนี กิ้งก่าแผงคอก็จะใช้สองขาหลังรีบวิ่งหนีศัตรูไป โดยยังแผ่แผงคอไว้จนกว่าจะถึงที่ปลอดภัย เช่น บนต้นไม้ เป็นต้น

 

UROMASTYX LIZARD (กิ้งก่ายูโรมาสติก / กิ้งก่าหางหนาม)

กิ้งก่ายูโรมาสติก หรือกิ้งก่าหางหนาม เป็นกิ้งก่าในตระกูลเดียวกับเบี้ยดดรากอน หรือ ฟิวดราก้อน มีหลากหลายสีสัน ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและทั่วภูมิภาคเอเชียใต้ กิ้งก่ายูโรมาสติกมีขนาดยาวโดยประมาณ 10-18 นิ้ว ยกเว้นบางสายพันธุ์เช่น สายพันธุ์อียิปต์ที่มีความยาวเกิน 30 นิ้ว เป็นกิ้งก่าที่อาศัยอยู่แถบทะเลทราย มักจะออกมาอาบแดดอยู่ตลอดเวลาในช่วงเวลากลางวัน และหลบเข้าที่ซ่อนเฉพาะเมื่อรู้สึกว่ามีภัยมาถึงตัวเท่านั้น โดยกิ้งก่ามีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งกิ้งก่าพันธุ์นี้เป็นสัตว์ที่ต้องการความร้อนในการดำรงชีวิต กิ้งก่ายูโรมาสติก มีลักษณะเด่นคือมีขนาดใหญ่ ลำตัวยาวโดยประมาณ 10-18 นิ้ว ร่างกายแข็งแรง และมีหางที่ยาว ส่วนใหญ่มักมีสีที่สวยงามสดใส กิ้งก่าชนิดนี้มีอายุยืนได้มากกว่า 15 ปี โดยในธรรมชาติจะมีขนาดโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ประมาณ 4 ปี แต่ที่เคยพบอายุยืนยาวที่สุดได้ถึง 30 ปี กิ้งก่ายูโรมาสติกเพศผู้มักมีสีสวยงามและสีสดใสกว่าตัวเมีย และวางไข่ประมาณ 10 -20 ฟอง และใช้เวลาฟักประมาณ 60-70 วัน

 

BLUE – TONGUED SKINK (จิ้งเหลน บลูทั้งสกิ๊ง)

เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่าในสมัยโบราณจำพวกจิ้งเหลนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Tiliqua บลูทั้งค์ เป็นจิ้งเหลนที่มีส่วนหัวใหญ่จนรูปร่างคล้ายหัวของงู เกล็ดเรียบลื่นมีความมัน มีลักษณะเด่นคือ มีลิ้นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2 ปี เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะกัดที่บริเวณคอของตัวเมียทำให้เกิดเป็นแผล และทำการขยายพันธุ์ โดยจะออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 6-8 ตัว ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 45 เซนติเมตร

 

BEARDED DRAGON (กิ้งก่ามังกรเครา หรือ เบี๊ยดดราก้อน)

เบี๊ยดดราก้อน (Bearded Dragon) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีประวัติการวิวัฒนาการยาวนาน แต่ในแง่ของการบันทึกทางวิทยาศาสตร์ พวกมันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานที่มีมาตั้งแต่ยุคเมโสโซอิก (ประมาณ 252-66 ล้านปีก่อน) ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์ยังคงครองโลก มีการบันทึกและการศึกษาที่เริ่มขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีสีสันหลากหลายซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามสายพันธุ์และปัจจัยต่าง ๆ ลักษณะทางกายภาพ น้องเป็นสัตว์เลื้อยคลาน จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับกิ้งก่า (Agamidae) มีลักษณะทางกายภาพที่โดดเด่นจากกิ้งก่าทั่วไปมาก นอกจากนี้บนลำตัวยังมีลักษณะเป็นเกล็ดและหนามแหลม ซึ่งเอาไว้ใช้ป้องกันตัวในกรณีที่ถูกล่า และจะมีจุดเด่นที่สังเกตได้ชัดอีกหนึ่ง คือบริเวณใต้คาง จะมีถุงที่เป็นหนาม ซึ่งมักจะแผ่ขยายเป็นสีดำเวลาที่เกิดอาการตกใจ ตื่นเต้น ต่อสู้ หรือเกี้ยวตัวเมีย เนื่องจากมีลักษณะคล้ายเครา จึงเป็นที่มาของชื่อ “มังกรเครา” นั่นเอง เมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาววัดจากหัวไปหางอยู่ที่ขนาดประมาณ 16-18 นิ้ว อายุขัยตามธรรมชาติส่วนใหญ่จะมีอายุตั้งแต่ 3-6 ปี อายุขัยที่มนุษย์นำมาเลี้ยงและดูแลแบบทั่วไปมีอายุอยู่ที่ประมาณ 4-7 ปี และบางตัวที่มีสุขภาพแข็งแรงและมนุษย์นำมาเลี้ยงดูเป็นอย่างดี อาจมีอายุยืนได้ถึง 14 ปีเลยก็เป็นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมด้วย  เมื่ออายุ 8-12 เดือน จะมีความพร้อมในการผสมพันธุ์ ซึ่งตัวผู้สามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียได้หลายตัวตลอดฤดูผสมพันธุ์

 

TEGU LIZARD (กิ้งก่ายักษ์ เตกู)

ถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบทะเลทรายละติน ประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เตกูเป็นกิ้งก่าที่จัดอยู่ในวงศ์ Teiidae โดยสัตว์เลื้อยคลานจำพวกลิซาร์ด กิ้งก่าชนิดต่าง ๆ และงู ถือเป็นผลจากการวิวัฒนาการร่างกายในระดับสูงสุด มีจำนวนประมาณร้อยละ 95 ของสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถรอดชีวิตจากการสูญพันธุ์ในยุคครีเทเซียสได้ สัตว์ชนิดนี้เริ่มเกิด และพบเห็นมากในช่วงยุคโบราณของมนุษย์ตั้งแต่ประมาณ 2-3 ล้านปีก่อนคริสตกาลเป็นวงศ์ใหญ่ที่รวมถึงกิ้งก่าพื้นถิ่นอเมริกาใต้ไว้หลายชนิด ซึ่งเป็นญาติกับพวกกิ้งก่าหางแส้ หรือ Whiptail lizard ชื่อเตกูมาจากภาษาโปรตุเกสที่แปลว่า "กิ้งก่าตัวใหญ่" โดยลักษณะภายนอกของเตกู จะคล้ายกับตะกวดที่เป็นกิ้งก่าวงศ์ Varanidae

 

HORNED FROG (ฮอร์นฟร็อกหรือ กบตาหนามอาร์เจนตินา)

พบได้แถบอเมริกาใต้ และจะพบได้มากในป่าฝนเขตร้อน บนเทือกเขาทุ่งหญ้าของประเทศอาร์เจนติน่า อุรุกวัย และบราซิลกบฮอร์นฟร็อกมีมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส เป็นกบที่อยู่ในตระกูล Ceratophryidae ที่การค้นพบ และศึกษาดีเอ็นเอที่ได้จากซากฟอสซิลกบโบราณ และวิวัฒนาการของมันในช่วงหลายล้านปีที่ผ่านมา โดยกบพันธุ์นี้ด้านบนของเปลือกตาจะมีติ่งลักษณะคล้ายเขาทั้ง 2 ข้าง มีสีสั้นสวยงามโดดเด่นกว่ากบพันธุ์อื่นๆ ไม่มีพิษ เมื่อโตเต็มวัยขนาดตัวจะยาว 1-15 นิ้ว มีอายุเฉลี่ย 6-10 ปี สืบพันธุ์โดยการวางไข่ ตัวเมียจะใช้เวลาภายใน 24  ชั่วโมงในเวลากลางคืนเท่านั้น และกลายเป็นลูกอ๊อดเมื่อวางไข่ 21 วัน ฮอร์นฟร็อกจะมีนิสัยสันโดษ ชอบอยู่ตามลำพัง และนิ่งมาก ชอบซุ่มหาอาหารแบบเงียบๆ ไม่ดุร้าย ไม่ชอบกระโดด และว่ายน้ำไม่เก่ง เนื่องจากขาหน้า และขาหลังค่อนข้างสั้น จึงมักใช้วิธีคลาน หรือปีนป่าย กิจกรรมส่วนใหญ่คือชอบซุกตัวอยู่ในดิน และมีนิสัยที่ตะกละ แต่เมื่อไหร่ที่ท้องอิ่มแล้วจะสามารถอยู่นิ่งๆได้ถึง 2-3 วัน

 

AFRICAN BULL FROG (กบยักษ์แอฟริกันบูลฟร็อก)

พบการกระจายตัวอยู่ในทุ่งหญ้าและป่าโปร่งซาวันนา ทั้งแบบแห้งแล้งและแบบชุ่มชื้น ป่าไม้พุ่ม ทะเลสาบน้ำจืด บึงน้ำจืด พื้นที่เพาะปลูก ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ คลองและคูน้ำ แถบประเทศในพื้นที่ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า มาลาวี แซมเบีย ไนจีเรีย โซมาเลีย โมซัมบิก แองโกลา แอฟริกาใต้ เคนยา โรดีเซีย แทนซาเนีย และซูดาน กบชนิดนี้เป็นกบชนิดที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และมีการดำรงชีวิตมาก่อนมนุษย์ประมาณ 80-100 ล้านปี กบเป็นสัตว์ชนิดแรกของยุคที่มีการค้นพบ กบยักษ์แอฟริกันบูลฟร็อกเมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดยาวประมาณ 8-10 นิ้ว พร้อมผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 12-18 เดือน ตัวผู้จะส่งเสียงร้องคล้ายวัวเพื่อหาคู่ จึงเป็นที่มาของชื่อ (บูลฟร็อก = กบวัว) โดยลักษณะผิวหนังของกบเพศผู้ เป็นสีเขียวแบบผิวลูกมะกอก บริเวณลำคอสีเหลืองถึงสีส้ม และ เพศเมียสีผิวสีเขียวจนถึงสีน้ำตาลอ่อน บริเวณคอสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีขาว ทั้งสองเพศมีเส้นนูนวิ่งตามแนวยาวของหลัง วัยอ่อนผิวหนังจะสีสันมากกว่าช่วงโตเต็มวัย จะมีเส้นสีขาวหรือเหลืองหลายเส้นตามแนวยาวของแผ่นหลังที่มีรอยด่าง เส้นสีบนหลังและรอยด่างจางหายไปเมื่อกบอายุเพิ่มขึ้น

 

SAND BOA (งูแซนบัว)

อาศัยอยู่ตอนเหนือของแอฟริกาตั้งแต่ประเทศอียิปต์เรื่อยไปจนถึงฝั่งตะวันตกแถบโซมาเลีย เอธิโอเปีย ซูดาน เคนยา และทางตอนเหนือของแทนซาเนีย งูแซนบัว เป็นงูไม่มีพิษ มีนิสัยเป็นงูขี้อาย ชอบหลบซ่อนตัวเพื่อให้ปลอดภัยจากผู้ล่า มีรูปร่างค่อนข้างอวบอ้วน มีการบันทึกการพบเห็นมาตั้งแต่สมัยที่ชาวยุโรปเข้ามาสำรวจป่าอเมซอน เพศเมียตัวเต็มวัยความยาวประมาณ 25 – 30 นิ้ว น้ำหนัก 400 – 900 กรัม ในขณะที่เพศผู้จะมีความยาวแค่ 15 – 18 นิ้ว น้ำหนัก 70 – 100 กรัมเท่านั้น พวกมันมีหัวและตาขนาดค่อนข้างเล็ก มีเกล็ดขนาดเล็กมาก หางสั้น มีลวดลาย และสีสันที่สวยงามสะดุดตา โดยที่ด้านหลังและด้านข้างลำตัวครึ่งบนจะมีสีเหลืองหรือส้มเป็นพื้น และมีรอยแต้มสีดำหรือน้ำตาลเข้มกระจายอยู่ตลอดความยาวตั้งแต่หัวจรดหาง ทำให้มองเห็นส่วนที่เป็นพื้นสีเหลืองหรือส้มเป็นเส้นหยักๆ ตวัดไปมาเหมือนสายฟ้าฟาด ในขณะที่ส่วนของด้านข้างลำตัวครึ่งล่างเลยไปถึงใต้ท้องจะเป็นสีขาว หรือครีม ในธรรมชาติจะมีอายุราวๆ 15 – 20 ปี

 

CORN SNAKE (งูข้าวโพด)  

มีต้นกำเนิดจากทวีปอเมริกา โดยเฉพาะในช่วงอเมริกาเหนือ ตลอดจนถึงอเมริกากลาง ตามธรรมชาติจะมีลำตัวยาวประมาณ 120 ถึง 180 เซนติเมตรโดยประมาณ น้ำหนักจะอยู่ที่ 400 ถึง 800 กรัม เป็นงูไม่มีพิษ มักพบตามไร่ข้าวโพดเพื่อกินหนูในไร่ข้าวโพด จึงเป็นที่มาของชื่อ corn snake สีสันในธรรชาติเป็นสีน้ำตาลอมแดง มีลวดลายสีดำ เพื่อพรางตาจากนักล่าชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็น นก, มนุษย์ หรือแม้กระทั่งจากงูด้วยกัน

งูข้าวโพดมีสีสันหลากหลาย และความหลากหลายนี้ก็คือหนึ่งในเอกลักษณ์ที่โดดเด่นจนทำให้ผู้เลี้ยงสัตว์แปลกต่างชื่นชอบ โดยมีตั้งแต่สีขาวล้วน ชมพู ส้ม แดง เหลือง เทา ม่วง ตลอดจนสีน้ำตาล อีกทั้งมีลวดลายแต่งแต้มเต็มลำตัว ไม่ว่าจะเป็นลายจุด ลานซิกแซก และลายเส้น เป็นต้น

 

WHITE LIPPED (งูหลามขอบปากขาว)

พบเจอได้ในแถบประเทศ อินโดนีเซีย-ปาปัวนิวกินี แหล่งที่อยู่จะเป็นป่าดิบชื้น งูหลามขอบปากขาว จะพบได้มากสุดที่ปาปัวนิวกินี แหล่งที่อยู่จะเป็นป่าดิบชื้น และ มักพบอยู่ใกล้แหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง สีผิวโดยส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลเข้มจนไปถึงสีดำ แต่เมื่อโดนแสงจะสะท้อนเป็นสีรุ้ง ขอบปากจะเป็นสีขาวสลับสีดำ ส่วนใต้ท้องจะมีทั้งสีเหลืองทองและสีขาว เป็นต้น ความยาวโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2.40 เมตร นิสัยโดยทั่วไปจะค่อนข้างขี้ระแวง และ คอยป้องกันตัวเองตลอดเวลา อาหารตามธรรมชาติก็จะเป็นพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก รวมไปถึงสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กและนก เป็นต้น ออกไข่ครั้งละประมาณ7-15 ฟอง

 

BULL SNAKE (บูลสเนค)

พบได้ทั่วทวีปอเมริกาเหนือ รวมทั้งหมดของสหรัฐอเมริกากลางและภาคเหนือของเม็กซิโก เป็นงูนิสัยไม่ดุร้าย ไม่มีพิษ เกล็ดแข็งและเรียบ ลื่น ตัวเต็มวัยมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 4 ถึง 6 ฟุต (1.2 ถึง 1.8 ม.) และมีการบันทึกตัวอย่างที่มีความยาวไม่เกิน 8 ฟุต 4 นิ้ว (2.5 ม.) โดยเฉลี่ยแล้วตัวอย่างที่โตเต็มที่จะมีน้ำหนักเฉลี่ยอยู่ในช่วง 1–1.5 กก. (2.2–3.3 ปอนด์) และสามารถมีน้ำหนักได้ถึงหรือมากกว่า 3.6–4.5 กก. (7.9– 9.9 ปอนด์) เป็นงูที่มีพละกำลัง ในการรัดเหยื่อมาก แข็งแรง มีความว่องไว ในการล่าเหยื่อ

 

MILK SNAKE (มิลค์สเนค)

พบในทวีปอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ มิลค์สเนคเป็นงูโบราณชนิดหนึ่งในสปีชีส์ ของงูในกลุ่ม milksnake ที่ไม่มีพิษโดยธรรมชาติ  แต่มีพละกำลังมาก และกินงูที่มีพิษเป็นอาหารได้ เป็นงูที่มีลำตัวยาว ลักษณะลำตัวจะเป็นทรงกระบอก สีสันสดใส มีสีสันเป็นปล้อง ๆ ดูคล้ายกับงูที่มีพิษ ส่วนหัวจะมีจุดเล็ก ๆ กระจายอยู่ เป็นงูที่มีสีสันหลากสี ฉูดฉาดและจัดจ้านที่สุดในบรรดางูสีทั้งหมด งูมิลค์สเนคมีขนาดประมาณ 24-36 นิ้ว หรือประมาณ 61-90 เซนติเมตร

 

RAINBOW BOA (งูโบอาสายรุ้ง)

งูโบอาสายรุ้ง หรืองูเหลือมบกขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในลุ่มน้ำอเมซอน ลำตัวกลม และมีความยาวตั้งแต่ 4-6 ฟุต เป็นงูไม่มีพิษเหมือนกับงูโบอาสายพันธุ์อื่น ซึ่งงูนั้นมีชีวิตอยู่เมื่อราว 58 ถึง 60 ล้านปีก่อน ในสมัยพาลีโอซีนตอนกลางถึงตอนปลาย เป็นช่วงหลังจากเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน ออกล่าโดยการซุ่มโจมตีและใช้กล้ามเนื้อที่แข็งแรงบีบรัดเหยื่อจนตาย มีการตั้งชื่อตามสีผิวสีรุ้งที่หักเหแสงและสร้างเอฟเฟกต์สีรุ้ง ผิวนุ่มสวยงาม สันเขาเล็กๆบนตาชั่ง มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง มีแถบสีดำขนานกันสามแถบที่ด้านบนของหัว และมีวงแหวนสีดำขนาดใหญ่อยู่ด้านหลัง

 

TARANTULA (แมงมุมทารันทูล่า)

มีถิ่นกำเนิดในบราซิล แต่มีการกระจายตัวอยู่ตามทวีปต่างๆบนโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปอเมริกา ทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย และทวีปเอเชีย แมงมุมทารันทูล่า (Tarantula) เป็นสัตว์ขาปล้องจำพวกแมงมุมกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ Theraphosidae เป็นแมงมุมที่มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคโบราณกว่า 350 ล้านปีมาแล้ว โดยสัตว์ชนิดนี้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายน้อยมากจากอดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับแมงมุมท้องปล้อง แต่ทารันทูล่าจะไม่เหลือปล้องบริเวณท้องอีกแล้ว ทารันทูล่ามีขนาดแตกต่างหลากหลายออกไป ตั้งแต่ 2.5 เซนติเมตร จนถึง 33 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 160 กรัม จัดเป็นแมงมุมที่มีอายุขัยยาวนานกว่าแมงมุมจำพวกอื่น โดยมีอายุยาวนานถึง 15-20 ปี

 

ACTIVITY ZONE

  • กิจกรรมป้อนอาหารสัตว์ และเกมส์ต่างๆ อาทิ ให้อาหารนกแก้ว, เต่าซูคาต้า, กระต่าย, แพะ, แกะ, ม้า

และเกมตักปลา เกมตกกุ้งมหาสนุก

  • พบกับพี่บ๊อบบี้ คาปีบาร่า ขวัญใจมหาชน
  • ร่วมถ่ายภาพใกล้ชิดกับมาสคอตสุดน่ารัก
  • ฟรี! เติมพลังความสดชื่นด้วยนมเปรี้ยวดัชมิลล์ คิดส์ สำหรับผู้ร่วมกิจกรรมในงาน
  • สนุกกับ AR GAME ลุ้นรับของรางวัลจาก M JUNIOR
  • ชมสัตว์สตัฟฟ์หายาก จากองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
  • กิจกรรมแจกกล้าไม้ ฟรี!! จากกรมป่าไม้ จำนวน 4,500 ต้น

อาทิ ต้นเหลืองปรีดียาธร, ต้นขนุน, ต้นแคนา, ต้นยางนา, ต้นทองอุไร

 

STAGE SHOW

  • โชว์การฝึกนกบินอิสระ/ การฝึก Call Back
  • กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ EXOTIC PET โดยสมาคมการค้า เกษตรกรทางเลือก ผู้เพาะพันธุ์

และพัฒนาสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ (NATA)  ในวันที่ 20-22, 26-29 กรกฎาคม 2567

ตารางกิจกรรมดังนี้

20 ก.ค. 67

เวลา 13.00 น. พบกับ “คุณโอ๊ต Mini Zoo” พูดคุยเรื่องการทำฟาร์มเฟนเนกฟ็อกส์

เวลา 14.00 น. พบกับ “คุณหมู เชาวลิต” คุยเรื่องราวการค้นพบบึ้งที่สวยที่สุดในโลกในประเทศไทย โดยคนไทย

เวลา 17.00 น. พบกับ “คุณเนท ฟาร์มเต่ายักษ์อัลดราบร้า” กับเรื่องราวการผจญภัยตามหาเต่าในต่างแดน

 

21 ก.ค. 67

เวลา 13.00 น. พบกับ “คุณหนึ่ง” เล่าความสำคัญของกล่องเลี้ยงสัตว์ Exotic ความแตกต่างที่ต้องใส่ใจ

เวลา 14.00 น. พบกับ “คุณต้น” เล่าวิวัฒนาการของวงการงู Ball Python ในประเทศไทย ที่กำลังเป็นที่หมายตาในตลาดโลก

เวลา 17.00 น. พบกับ “คุณโจ๊กเกอร์ นพชัย” เจ้าของรายการสวนสัตว์หลังบ้าน นำเสนอ Trend สัตว์เลี้ยงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จากหนึ่งมุมมองของคนรักสัตว์ที่ต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ

 

22 ก.ค. 67

เวลา 14.00 น. พบกับ “คุณโรส” ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงสัตว์ Exotic ในคอนโด

เวลา 17.00 น. พบกับ “คุณปลิง เจ้าของเพจงูจงปัง” พูดคุยเรื่องศิลปะการแสดงกับสัตว์ Exotic

 

26 ก.ค. 67

เวลา 14.00 น. พบกับ “คุณโอ๊ต Mini Zoo” ให้ความรู้เรื่องการทำฟาร์มบุชเบบี้

เวลา 17.00 น. พบกับ “คุณซัน Balcon Zoo” ที่จะมาพร้อมกิจกรรม Meet & Greet คุณขาว และคุณอาทิตย์

 

 

 

27 ก.ค. 67

เวลา 14.00 น. พบกับ “คุณอู๋ Beetle Smile Club” ให้ความรู้เรื่องวิธีการเลี้ยง และดูแลด้วงกว่างต่างประเทศ

เวลา 17.00 น. พบกับ “คุณบีน RF Reptile Factory” นำเสนองูเหลือม งูหลาม World First โดยคนไทย

 

28 ก.ค. 67

เวลา 14.00 น. พบกับ “คุณบิวคุง แฟนพันธุ์แท้สัตว์เลี้อยคลาน” ให้ความรู้เรื่องสัตว์ป่าฝนอัศจรรย์

เวลา 17.00 น. พบกับ “คุณพิมพ์ เจ้าของเพจไอ้ต้าวงู๊ย” และ Meet & Greet ประธานเจได และเดเมียน

 

29 ก.ค. 67

เวลา 14.00 น. พบกับ “คุณหยก ชมรมคนรักงูสีและงูสวยงามแห่งประเทศไทย”

ให้ความรู้เรื่องงูสีชมพู และงูลายปลาคาร์ฟ

เวลา 17.00 น. พบกับ “คุณปลิง เจ้าของเพจงูจงปัง” พูดคุยเรื่องศิลปะการแสดงกับสัตว์ Exotic

 

EXOTIC CAMP CAFÉ & MARKET

คาเฟ่ของคนรักสัตว์แปลก มาร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษในการใกล้ชิดงูบอลไพธอน กิ้งก่าทะเลทรายเบี๊ยดดราก้อน ตุ๊กแกหางอ้วน และสัตว์แปลกอื่นๆ อีกมากมาย น้องๆทุกตัวในคาเฟ่เป็นมิตร ไม่มีพิษ ไม่ดุร้าย มีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด โซนจำหน่ายสินค้าที่ระลึก และภายในงานยังมีร้านค้าที่จำหน่ายสัตว์พิเศษต่างๆ สัตว์เลี้ยงนานาชนิด และสินค้าสำหรับคนรักสัตว์มากมายภายในงาน

 

GRAND OPENING EVENT

19 ก.ค. 67 เวลา 16.30-18.30 น. ที่ MCC HALL ชั้น 3 เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ บางกะปิ พบกับ คู่หู “ซานิ – ตั้ม”  ที่จะมานำพาทุกท่านร่วมผจญภัยท่องโลกมหัศจรรย์ ชีวิตสัตว์แปลกแดนโบราณ พร้อมทั้งร่วมสำรวจสัตว์พิเศษหาชมยาก และกิจกรรมสนุกๆ อีกมากมายภายในงาน

EXCLUSIVE PRIVILEGE

สิทธิพิเศษสมาชิกบัตร M JUNIOR

สิทธิพิเศษ 1

  • เพียงแลก 20 M Point รับสิทธิ์ ป้อนอาหารสัตว์ ฟรี!! (มูลค่า 20 บาท)

(จำกัด 1 สิทธิ์/ ท่าน/ วัน)

(จำกัด 50 สิทธิ์/วัน, จำกัดรวม550 สิทธิ์/ ตลอดรายการ)

สิทธิพิเศษ 2

  • เพียงแลก 1 M Point รับสิทธิ์ ฝากรถเข็นเด็กฟรี! บริเวณด้านหน้าทางเข้างาน

(รับสิทธิ์ผ่าน MCard Application)

 

สิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้าไทยน้ำทิพย์

สิทธิพิเศษที่ 1

เพียงซื้อเครื่องดื่ม COKE MIXOLOGY มูลค่า 50 บาท รับ TICKET ป้อนอาหาร วัววาตูซี่

(สัตว์ ไฮไลท์ / อาหารที่ป้อน เป็นหญ้าที่ลักษณะเป็นก้านยาว)

จำกัด 1 สิทธิ์ / 1 ท่าน / ตลอดรายการ, จำกัด 50 สิทธิ์ / วัน ; จำกัดรวม 500 สิทธิ์ / ตลอดรายการ

 

สิทธิพิเศษที่ 2

กิจกรรม แชะ-เช็ค-แชร์

รับฟรี คูปองแลกซื้อเครื่องดื่ม SOFT DRINK (โค้ก, แฟนต้า, สไปรท์) มูลค่า 25 บาท

เพียงถ่ายภาพตัวเองคู่กับ น้องสัตว์ ที่แสดงภายในงาน The Mall Jungle Walk พร้อมใส่

#CokeTH #CokeTHxTHEMALLLIFESTOREJUNGLEWALK

จำกัด 100 สิทธิ์ / วัน, จำกัด 1,000 สิทธิ์ / ตลอดรายการ

วิธีการรับสิทธิ์ :

  • โพสต์รูปที่ถ่ายลงใน โซเชียลมีเดีย Facebook, Instagram หรือ Twitter ของท่าน
  • เช็คอิน TheMall Lifestore Bangkapi พร้อมใส่ #CokeTH #CokeTHxTHEMALLLIFESTOREJUNGLEWALK
  • แสดงโพสต์ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ เพื่อรับคูปองแลกซื้อ

เงื่อนไข

  1. สิทธิพิเศษที่ 1 รับฟรีสิทธิ์ป้อนอาหารวัววาตูซี่ เพียงซื้อเครื่องดื่ม COKE MIXOLOGY ที่บูธ SOFT DRINK ภายในงานรับ TICKET ป้อนอาหาร แสดง TICKET ได้ที่จุดคอกวัววาตูซี่ ภายในงาน
  2. สิทธิพิเศษที่ 2 รับฟรีคูปองแลกซื้อเครื่องดื่ม SOFT DRINK (โค้ก, แฟนต้า, สไปรท์) มูลค่า 25 บาท แสดงคูปองที่ได้รับจากจุดลงทะเบียน ณ บูธ Soft Drink ภายในงานตั้งแต่เวลา 11.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าสิทธิ์จะเต็ม
  3. ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดหรือทอนได้
  4. ไม่สามารถใช้กับโปรโมชั่นอื่นๆได้
  5. สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  6. สอบถามเพิ่มเติม ณ บูธ Soft Drink ภายในงาน

*หมายเหตุ: รายละเอียดสิทธิพิเศษต่างๆ โปรดสอบถามเพิ่มเติม ณ จุดลงทะเบียนภายในงาน

M Card